คำว่า แนวรับ แนวต้าน นักลงทุนคงเคยได้ยินกันอย่างคุ้นหูอยู่แล้วตามบทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์การเงินหรือตามโบรคเกอร์ต่างๆ แต่ทว่าอาจจะยังมีบางคนเข้าใจผิดกับ คำ 2 คำนี้ บทความนี้จะช่วยไขกระจ่างให้นักลงทุนเข้าใจกับคำ 2 คำนี้มากขึ้น ว่าแต่มันคืออะไรและจะสร้างกำไรได้อย่างไรไปดูกันเลยครับ

 

การเกิดแนวรับ
เมื่อราคากราฟปรับตัวลดลงในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้า "ซื้อ"(Buy) กราฟซึ่งตรงนี้จะทำให้มี อุปสงค์ > อุปทาน ส่งผลให้ราคากราฟนั้นปรับตัวสูงขึ้น และ ระดับราคาของกราฟที่ต่ำสุดนั้น เราจะเรียกว่า "แนวรับ" (Support) นั่นเอง

 

การเกิดแนวต้าน
เมื่อราคากราฟปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจให้นักลงทุน "ขาย"(Sell) กราฟออกมาซึ่งตรงจุดนี้จะทำให้มี อุปสงค์ < อุปทาน ส่งผลให้ราคากราฟนั้นปรับตัวลดลง และ ระดับราคาของกราฟที่เพิ่มขึ้นสูงสุดนั้นเราจะเรียก "แนวต้าน" (Resistance) นั่นเอง

หรือ จำง่ายๆ ว่า "แนวรับ - รับไว้ไม่ให้ลง แนวต้าน - ต้านไว้ไม่ให้ขึ้น"

วิธีสังเกต แนวรับ ง่ายๆ นั้น คือ เมื่อราคากราฟอ่อนตัวลงมาถึงระดับราคานั้นทีไรก็มักจะมีแรงซื้อกลับมาช่วยดันราคาให้สูงขึ้นกลับไปทุกครั้ง นั่นเอง
วิธีการสังเกต แนวต้าน ง่ายๆ นั้น จะตรงกันข้ามกับแนวรับ คือ เมื่อราคากราฟขึ้นสูงมายังระดับราคานั้นทีไรก็มักจะมีแรงขายออกมากดราคากราฟให้ต่ำลงมาทุกครั้ง นั่นเอง

 

ยังมีอีกสำนวนหนึ่งที่นักเทคนิคควรรู้ นั่นก็คือ "ต้านกลายเป็นรับ รับกลายเป็นต้าน"

คำว่า ต้านกลายเป็นรับ นั้น หมายถึง การที่ราคากราฟสามารถวิ่งทะลุแนวต้าน (ที่พยายามต้านไว้ไม่ให้ขึ้น) ขึ้นไปได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีแรงซื้อที่มากพอจนสามารถเอาชนะแรงขายได้ จึงสามารถทำให้ราคากราฟปรับสูงขึ้นไปได้ และเมื่อราคาขึ้นสูงไปเจอแนวต้านถัดไป ก็เกิดการย่อตัวลงมาบริเวณแนวต้านเดิม [ที่เป็นจุดสนใจของนักลงทุนที่ซื้อไว้ในอดีต] เข้าซื้อกราฟดังกล่าวบริเวณนี้อีกครั้งเพราะเชื่อว่าราคายังคงอยู่ในแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ราคากราฟปรับสูงขึ้นไปอีกครั้ง จึงทำให้แนวต้านเดิมนั้นเปลี่ยนเป็นแนวรับหรือ สรุปง่ายๆ ว่า หากราคากราฟทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ (โดยมี แรงซื้อ > แรงขาย) แนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับ

ส่วนคำว่า รับกลายเป็นต้าน นั้น หมายถึง การที่ราคากราฟร่วงหลุดแนวรับ (ที่พยายามรับไว้ไม่ให้ลง) ลงไปได้ ซึ่งเกิดจากแรงเทขายที่มากพอจะเอาชนะแรงซื้อได้ จึงกดดันให้ราคากราฟร่วงลงมา และเมื่อราคาปรับตัวลงมาได้สักพักไปยังแนวรับถัด (ที่ต่ำกว่าแนวรับเดิม) ไปโดยแนวรับนั้นรับไว้ได้ ราคากราฟมีการวกกลับขึ้นไปยังแนวรับเดิม (ที่หลุดลงมา) ซึ่งเป็นจุดนี้เป็นจุดที่นักลงทุนได้เทขายกราฟออกมา เพราะ มีความเชื่อว่าราคากราฟไม่สามารถขึ้นไปต่อได้ และเมื่อราคากราฟตกกลับลงมา จำส่งผลให้แนวรับเดิมนั้นกลายเป็นแนวต้าน หรือ สรุปง่ายๆ ว่า หากราคากราฟร่วงหลุดแนวรับลงไปได้ (โดยมี แรงขาย > แรงซื้อ) แนวรับนั้นจะกลายเป็นแนวต้านนั่นเอง

 

0 Share